Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

อำเภอกุดจับ
เครือข่ายโรงพยาบาล
จังหวัดอุดรธานี
หน่วยงานสาธารณสุข
เสริมพัฒนาศักยภาพและประชาสัมพันธ์เครือข่ายประชาชนแบบมีส่วนร่วมใช้พื้นที่โซนตะวันตกเป็นฐานเรียนรู้

สำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)   ร่วมกับ   สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทุกเขต โดยใช้เขต 5 ราชบุรี   (สปสช. เขต 5 ราชบุรี) เป็นฐานพื้นที่ปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาศักยภาพและประชาสัมพันธ์เครือข่ายประชาชนแบบมีส่วนร่วม    ผู้เข้าร่วมอบรมและฝึกปฏิบัติการ    ได้แก่    แกนนำวิทยากรทั้ง 13   เขต   เครือข่าย 9 ด้าน และเครือข่ายอื่นๆ    อนุกรรมการระดับ ผู้แทนภาคประชาชน และตัวแทน อสม. รวมทั้งอนุกรรมการระดับจังหวัด 4 คณะทุกจังหวัด   จำนวน 60 คน พร้อมจัดอบรม/ปฏิบัติการจริง อบรมให้ความรู้กลุ่มย่อยในพื้นที่ 6 กลุ่ม ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 200 คน โดยมีนายแพทย์วิบูลย์   สุพุทธิธาดา ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 5 ราชบุรี กล่าวต้อนรับ   นายแพทย์วีระวัฒน์   พันธุ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวเปิดการอบรมฯ   ระว่างวันที่ 14-17 มิถุนายน 2555   ณ   ไม้แก้วดำเนินรีสอร์ท   อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี   
นายแพทย์วีระวัฒน์   พันธ์ครุฑ กล่าวว่า   การจัดอบรมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการพัฒนาศักยภาพแบบมีส่วนร่วม ที่ดำเนินการต่อเนื่อง ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   อัพเดท ปรับปรุงเนื้อหา กระบวนการ พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย ปี 2554 ที่ผ่านมา   ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละเครือข่าย   ซึ่งการขับเคลื่อนงานให้เป็นรูปธรรมในระบบหลักประกันสุขภาพจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องให้กับเครือข่ายประชาชนที่จะทำหน้าที่บทบาทของอนุกรรมการชุดต่างๆรวมทั้ง   ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 50(5) เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับองค์กรประชาชนและองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง
นายแพทย์วิบูลย์   สุพุทธิธาดา   กล่าวว่า   สปสช.เขต 5 ราชบุรี กับศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้ประสานงานและร่วมกันดำเนินการสนับสนุนการทำงานในระบบหลักประกันสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมมาโดยตลอด   เพราะว่าภาคประชาชนเป็นกำลังที่สำคัญ ที่ทำให้ สปสช. ประสบผลสำเร็จในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ สิทธิ สิทธิประโยชน์ กับเครือข่ายภายใน 8 จังหวัด   โดยที่สำคัญ สำนักงานฯ ได้สนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และมีการพัฒนาศักยภาพ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทุกปี   เช่น การให้ความรู้เรื่องหลักประกันสุขภาพ    ด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งงานคุ้มครองสิทธิ   และครั้งนี้ได้เปิดพื้นที่เป็นฐานในการเรียนรู้ฝึกปฏิบัติจริงทั้ง 6 กลุ่ม
นางสาวบุญยืน   ศิริธรรม    กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ    กล่าวว่า   การประชุมครั้งนี้ทำให้เกิดวิทยากรแกนนำระดับเขตที่ผสมผสานระหว่างภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่ สปสช. ส่วนกลาง และ สปสช. เขต   เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนให้เกิดความเข้มแข็งสามารถดำเนินภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
กระบวนการฝึกอบรม ช่วงแรกเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เคยเป็นวิทยากร เรื่องระบบหลักประกันสุขภาพที่ผ่านมา   ทำความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ เช่น องค์ประกอบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพการสื่อสารสองทาง และการสื่อสารทางเดียว และการคัดเลือกเนื้อหา ชุดกิจกรรมที่เหมาะสมในระบบหลักประกันสุขภาพ   ได้แก่   สิทธิ   สิทธิประโยชน์ การมีส่วนร่วม   กองทุนสุขภาพตำบล เป็นต้น   หลังจากนั้นเป็นการปฏิบัติฝึกอบรมจริง ด้วยการกลุ่มเป็นวิทยากรย่อย   6   กลุ่ม   โดยลงพื้นที่   4 จังหวัด   ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม    สมุทรสาคร    ราชบุรี และเพชรบุรี และร่วมสอน/ถ่ายทอด/จัดอบรมให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่   กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)    คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่รวมทั้งคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด 3 ชุด   พร้อมกันทั้ง 6 พื้นที่ ๆ ละประมาณ 30-35 คน รวมทั้งหมดประมาณ 200 คน   ซึ่งหลังจากลงพื้นที่ปฏิบัติการในแต่ละกลุ่มเป้าหมายแล้วได้สรุปถอดบทเรียนมาวางแผนในการขยายลงในพื้นที่แยกเป็น 5 ภาคทั่วประเทศ พร้อมจัดทำคู่มือ พิมพ์เผยแพร่ต่อไป
นางอรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์   ผอ.สำนักฯภาคี กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผลจากการจัดประชุมครั้งนี้ จะทำให้เครือข่ายประชาชนและภาคีต่างได้รับการเสริมศักยภาพและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จาการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมทั้งนำบทเรียนที่ได้มากำหนดยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไป”

ข่าวที่น่าสนใจอื่นๆ เพื่มเติม