Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

อำเภอกุดจับ
เครือข่ายโรงพยาบาล
จังหวัดอุดรธานี
หน่วยงานสาธารณสุข
ระบบหลักประกันสุขภาพไทยได้รับการยอมรับในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 11

ในระหว่างวันที่ 2-6 ก.ค.55 กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 11 ที่โรงแรมโมเวนพิค รีสอร์ทแอนด์สปา จ.ภูเก็ต มีการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน 10 ประเทศและรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสาม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ครั้งที่ 5 จำนวน 200 คน ซึ่งมีหัวข้อหลักของการประชุม คือ “ประชาคมอาเซียน 2015 : โอกาสและความท้าทายด้านสุขภาพ” (ASEAN Community 2015 : Opportunities and Challenges to Health) เพื่อระดมสมองในการแสวงหามาตรการเพิ่มทางบวก และลดผลกระทบทางลบด้านสุขภาพ เน้น 5 เรื่องหลัก ได้แก่ การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ การลดการบริโภคยาสูบ ทั้งเรื่องของการเพิ่มภาษี การห้ามโฆษณา การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการควบคุมโรคเอดส์ นอกจากนี้มีการหารือโต๊ะกลมเรื่องการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กลไกการสนับสนุนการสร้างระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพและการพัฒนาศักยภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบหลักประกันสุขภาพ และการเห็นชอบให้มีเครือข่ายความร่วมมือในประเทศอาเซียนบวกสาม โดยไทยจะเป็นผู้รับประสานงานในเรื่องนี้
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีกิจกรรม ที่เข้าร่วมในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนครั้งที่ 11th โดยสำนักนโยบายและแผน และ สปสช เขต 11 สุราษฎร์ธานี ได้รับผิดชอบการจัด Side Meeting และร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอ Universal Health Coverage (UHC) : an achievable goal ประสบการณ์ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย และในพิธีเปิดนิทรรศการมีรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนทุกประเทศ และนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ โดยนายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. เป็นผู้นำเสนอ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ดำเนินการมาแล้ว 10 ปี มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพและแก้ปัญหาความยากจน คนไทยไม่ต้องล้มละลายเพราะการเจ็บป่วย โดยได้รับบริการสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมด้วยความภาคภูมิใจ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ทีมรัฐมนตรีฯ อาเซียนและอาเซียนบวกสามได้เข้าเยี่ยมชมโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตและรับฟังบรรยายสรุปด้าน การบริหารโรงพยาบาลภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ รวมถึงศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รวมทั้งการให้บริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังด้วยวิธี CAPD อีกทั้งการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคน้ำหนีบ เบาหวาน ออทิสติก ด้วย โดยHyperbaric Oxygen Therapy และ Environmental health Care โดยมี นายแพทย์เจษฏา จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายแพทย์ภูมิวิชญ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 11 สุราษฎร์ธานี และคณะให้การต้อนรับ
เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า “จุดแข็งของไทยที่ต่างชาติให้ความสนใจ มีเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งไทยริเริ่มตั้งแต่จ่าย 30 บาท รักษาทุกโรค และมีการพัฒนาระบบขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ แม้จะมีปัญหา แต่ก็สามารถแก้ไขจนกระทั่งปัจจุบันและนับว่าไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่ทำเรื่องหลักประกันสุขภาพโดยรัฐได้สำเร็จ” และรัฐมนตรีสาธารณสุขในกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมที่จะร่วมมือและพัฒนาสุขภาพประชาชนในภูมิภาคอย่างจริงจังในประเด็นการร่วมผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปสู่การประชุมผู้นำในเวทีอาเซียนซัมมิต (ASEAN Summit) และสมัชชาสหประชาชาติ การจัดตั้งเครือข่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอาเซียนบวก 3 คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี โดยไทยรับเป็นประเทศหลักต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจอื่นๆ เพื่มเติม